สถานที่ท่องเที่ยวในอุบลราชธานี
วัดถ้ำปาฏิหารย์
ภาพจาก เที่ยวไปกินไป.com
วัดถ้ำปาฏิหารย์ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อ.โขงเจียม วัดถ้ำปาฏิหารย์แห่งนี้ ตามตำนานเล่าว่าคือเมืองลับแล,หรือเมืองบังบดและตามประวัติของ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ หลวงปู่ท่านได้กล่าวถึงถ้ำมืดแห่งนี้ว่า เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองมนุษย์และเมืองบาดาล(เมืองของเหล่าพญานาค)เป็นดินเเดนศักสิทธิ์มีเจ้าปู่เป็นผู้ดูแลปกปักรักษาสถานที่แห่งนี้และยังมีความเชื่ออิกว่าถ้ำแห่งนี้สามารถเดินทะลุไปถึงอิกฝั่งหนึ่งคือที่แก่งสี่พันดอน ประเทศ สปป.ลาวได้ บรรยากาศภายในบริเวณถ้ำ มีบันไดนาค ทอดยาวลงไปภายในถ้ำ อากาศภายในถ้ำจะเย็นอยู่ตลอด และหากเป็นหน้าฝนจะมีน้ำหยดลงมาจากบนผนังถ้ำ เมื่อเดินพ้นบันไดนาคแล้ว จะพบกับห้องโถงขนาดใหญ่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆเพื่อให้ผู้ที่เดินทางมาได้กราบไหว้สักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล ในสมัยก่อนภายในถ้ำแห่งนี้จะมีขอนไม้ขนาดใหญ่(ประมาณ3คนโอบ)อยู่ท่อนหนึ่งคนเฒ่าคนแก่ในพื้นที่จะรู้ดี แต่ปัจจุบันเมื่อถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบและมีผู้คนเดินทางมาเป็นจำนวนมาก ขอนไม้นั้นก็ได้หายออกจากถ้ำไปเอง... ภายนอกบริเวณถ้ำ จะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามจุดต่างๆทั่วบริเวณวัด และรายล้อมด้วยธรรมชาติ และมีกล้วยไม้ป่าเกิดขึ้นทั่วบริเวณวัด ลืมบอก วัดถ้ำมืดแห่งนี้จะถึงก่อนผาชนะได คือเป็นทางผ่านขึ้นผาชนะได ถ้ำมืดหรือถ้ำปาฏิหารย์ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตำบล นาโพธิ์กลาง อำเภอ โขงเจียม
พัทยาน้อย
ภาพจาก Pantip.com
หาดพัทยาน้อย หรือบางทีก็เรียกกันว่า ทะเลอีสานใต้ ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่ภูทอง ต.คันไร่ อ.สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร จากวารินชำราบมาตามหางหลวงหมายเลข 217 (ถนนสถิตนิมานกานต์) ระยะทางประมาณ 62 กิโลเมตร และอีกจุดหนึ่งอยู่ห่างกัน 2 กิโลเมตร (หลักกิโลเมตรที่ 62 และ 64 ตามลำดับ) หรือห่างจากเขื่อนสิรินธรประมาณ 10 กิโลเมตร ลักษณะของพื้นที่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเป็นพื้นทรายกว้างและยาวเข้าไปกลางน้ำ จึงมีคนมาเปิดร้านอาหาร รีสอร์ท ร้านกาแฟ มีลักษณะเป็นแพกลางน้ำ ในฤดูน้ำน้อยระดับน้ำเหนือเขื่อนสิรินธรต่ำลงมากๆ จะเห็นเป็นหาดทรายขาว ลงเล่นน้ำได้ ด้วยความพยายามที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ จึงมีพ่อค้าแม่ค้านำเอาเรือ เจ็ตสกี และห่วงยางมาให้บริการ พัทยาน้อยจึงกลายมาเป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจที่เพียบพร้อมด้วยบริการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในทุกด้าน
แก่งสะพือ
ภาพจาก Tripadvisor
แก่งสะพือ เป็นแก่งหินที่มีลักษณะเดียวกันกับที่ “สามพันโบก” นั่นคือในช่วงฤดูน้ำหลาก แก่งหินจะจมอยู่ใต้น้ำ และจะถูกกัดเซาะด้วยแรงของกระแสน้ำวนจนเกิดเป็นแอ่งเล็กแอ่งน้อย เมื่อน้ำในลำน้ำมูลแห้งขอดในฤดูแล้ง แก่งหินดังกล่าวก็จะโผล่พ้นน้ำกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติกลางแม่น้ำมูล เป็นโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมความสวยงามของแก่งหินที่ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่ง มองเห็นเป็นภาพศิลปะ ทั้งรูปวงกลม วงรี รูปดาว และรูปอื่นๆ อีกมากมาย ตามแต่จะจินตนาการ ซึ่งบรรยากาศแบบนี้จะมีให้สัมผัสเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคมเท่านั้น ส่วนในช่วงหน้าฝน แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นแก่งหินที่สวยงามได้ แต่ก็เป็นช่วงที่ลงเล่นน้ำได้สนุกสนาน เนื่องจากน้ำที่นี่ไหลแรงกำลังดี ระดับน้ำไม่ตื้นเกินไป ไม่ลึกเกินไป อีกทั้งก้อนหินต่างๆ ยังมีตะไคร่น้ำเกาะอยู่หนามาก ทำให้ก้อนหินนุ่มและลื่น สามารถสนุกกับการเล่นน้ำได้โดยไม่ต้องกลัวหินบาด แก่งสะพือ นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวเมืองอุบลราชธานีแล้ว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี สถานที่แห่งนี้ยังถูกใช้เป็นที่จัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสืบทอดประเพณีอันดีงามไว้
หาดสลึง
ภาพจาก EDTguide.com
หาดสลึงเป็นที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของ อ.โพธิ์ไทร หาดสลึง ตั้งอยู่ที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ - ตระการพืชผล - โพธิ์ไทร) จุดเด่นของหาดสลึงคือ เมื่อหน้าแล้วหรือว่าช่วงสงกรานต์นั้นจะมีการเล่นสงกรานต์ที่นี่ หนุ่มสาว มากมายจะมาเล่นน้ำ รวมถึงแม่น้ำโขงน้ำลดจะมองเห็นหาดทรายขาว ทรายเม็ดเล็ก รวมถึงยังเป็นจุดชมวิวที่ สามารถถ่ายภาพประเทศลาวได้อีกด้วยรถลากให้บริการสำหรับท่านที่อยากขึ้น-ลง หาดสบายๆหาดสลึงยังมีที่พักมาก และร้าอาหาร รวมถึงสามารถเดินทางไปต่อที่สามพันโบกได้อีกด้วยเพราะบ้านสองคอนนั้นเกือบจะเป็นระยะทางครึ่งหนึ่งของโพธิ์ไทรกับสามพันโบกนั่นเองเนื่องจากสามพันโบกยังมีที่พักน้อย ดังนั้นจึงแนะนำหาที่พักที่นี่สำรองไว้นอกจากนั้นยังมีร้านอาหารให้บริการ และร้าขายของที่ระลึกอีกด้วยถ้าพูดถึงหาดใน อ.โพธิ์ไทรแล้ว หาดสลึง บ้านปากกะหลาง ตำบลสองคอนเป็นหาดที่สวยที่สุดแถมยังสามารถเดินทางไปต่อได้อีกหลายทาง เช่น สามพันโบก เสาเฉลียง ผาชัน โขงเจียมรวมถึงเดินทางกลับเข้าเมืองด้วยเส้นทางนี้อีกด้วย ดังนั้นการเริ่มต้นเที่ยว อ.โพธิ์ไทรต้องมาถึงบ้านสองคอนก่อน
น้ำตกทุ่งนาเมือง
ภาพจาก วู๊ดดี้ฟู๊ดแทรเวล กินเที่ยวสบายๆ สไตล์วู๊ดดี้
น้ำตกทุ่งนาเมือง เป็นน้ำตกอีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน อยู่ห่างจาก “น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู ,น้ำตกลงรู ,น้ำตกลอดรู )” เพียงแค่ประมาณ 2 กม. บางครั้งชาวบ้านในพื้นที่ก็เรียก “น้ำตกทุ่งนาเมือง” ว่า “น้ำตกลอดรู” ทำให้มีความสับสนกับ “น้ำตกแสงจันทร์” อยู่บ้าง สาเหตุที่ “น้ำตกทุ่งนาเมือง” มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “น้ำตกลอดรู” นั้นก็เนื่องมาจากสายน้ำของน้ำตกแห่งนี้จะไหลลัดตามลำห้วยลงสู่ซอกหินผา เลาะเรื่อยมาตามหลืบเร้นต่างๆ จนเผยออกมาปรากฏให้เห็นอีกครั้งใต้แผ่นหินขนาดใหญ่ซึ่งวางตัวอยู่ในลักษณะคล้ายโตรกถ้ำ แล้วจึงทิ้งตัวลงเป็นสายน้ำตกด้านหน้าภายใต้แผ่นหินนั้น
แม่น้ำสองสี
ภาพจาก Travel MThai
แม่น้ำสองสี อีกหนึ่งสถานที่น่าท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏการของแม่น้ำสองสายที่ไหลมาบรรจบกัน เกิดการเปรียบต่างสีน้ำของแม่น้ำ ทั้งสองสาย คือ แม่น้ำมูลที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหน้าน้ำหลากจะเห็นแม่น้ำทั้งสองสายที่ไหลมาบรรจบกันเป็นสองสีอยู่คนฝากฝั่ง อย่างชัดเจน ผู้คนพากันเรียกว่า “โขงสีปูน มูลสีคราม” นอกจากชมความอัศจรรย์ของแม่น้ำสองสีแล้ว ยังสามารถล่องเรือไปตามลำน้ำมูล และลำน้ำโขง เพื่อชมทัศนียภาพ ของธรรมชาติ และผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ริมสองแม่น้ำทั้งสองฝากฝั่ง แม่น้ำสองสี “โขงสีปูน มูลสีคราม” ปรากฏการแม่น้ำไหล รวมกันเป็น สองสีเกิดขึ้นในบริเวณ ดอนด่านปากแม่น้ำมูล บ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยแม่น้ำมูลที่มีสีออกสีคราม จะไหล ไปรวมกับแม่น้ำโขงที่สีออกจะขุ่นๆเป็นสีปูน เกิดเป็นแม่น้ำโขงที่มีสีของน้ำสองสี ก่อนจะค่อยๆรวมกันและเป็นสีเดียวกัน จุดที่สามารถชม แม่น้ำสองสีได้ คือบริเวณ ลาดริมตลิ่งหน้าวัดโขงเจียม และที่หมู่บ้านห้วยหมาก โดขสามารถนั่งเรือไปได้ โดยจอดรถไว้ที่บริเวณท่าเรือแม่น้ำโขง อำเภอโขงเจียม แล้วนั่งเรือไปชมความสวยงามของ แม่น้ำสองสี จากจุดชมวิวทั้งสองจุด นอกจากชมแม่น้ำสองสี แล้วยังมีสถานที่น่าสนใจในบริเวณนี้อย่าง ร้านอาหารที่ ทำจากปลาสดๆที่จับได้จาก แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง หรือจะข้ามไปเที่ยวตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว เที่ยวตลาดยามเช้าในอำเภอโขมเจียม ไปชมเขื่อนปากมูล น้ำตกและถ้ำเหวสินธุ์ชัย วัดถ้ำคูหาสวรรค์ และท่าปลาริมโขง
ขัวน้อยบ้านชีทวน
ภาพจาก พัชราวิว รีสอร์ท อุบลราชธานี
ขัวน้อย บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นขัวที่ใช้สัญจรไปมา ระหว่าง หมู่ที่ ๑ บ้านชีทวน และหมู่ที่ ๗ บ้านหนองแคน จากการสอบถามผู้รู้ในชุมชน สันนิษฐานว่า มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปีที่แล้ว มีความกว้าง ๑.๔๐ เมตร ความยาว ๒๗๑.๕๐ เมตร สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร
หาดทรายสูง
ภาพจาก Thailand Tourism Directory
หาดทรายสูง เกิดจากน้ำโขงได้ไหลพัดพาทรายจากที่อื่น ๆ มากองรวมกันเป็นเวลานาน พร้อม ๆ กับลำน้ำโขง ลักษณะหาดทรายกองกันเป็นคล้าย ๆ เขา 2 ลูก ติดกัน ต่ำลงไปอีก จะเป็นเหมือนแอ่งน้ำไหลโขกหินสวยงาม ท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ณ บ้านลาดเจริญ หมู่ 10 ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บรรพบุรุษที่เข้ามาตั้งรกรากหมู่บ้านเป็นกลุ่มแรกในสมัยก่อนคือ นายก่ำ เหล่าน้อย ,นายจู มัณฑนารักษ์ และนายกัณหา อินธิแสง เดิมชื่อ บ้านลาดน้อย ขึ้นอยู่กับหน่วยปกครองของหมู่ที่ 5 บ้านลาดหญ้าคา ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ได้แยกหน่วยการปกครองออกเป็น หมู่ 10 ตั้งชื่อว่า “บ้านลาดเจริญ” ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายบุบผา อินธิแสง ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันคือ นายจำปา ทองโสภา บ้านลาดเจริญมีประชากร 420 คนมีจำนวน 108 หลังคาเรือน มีเนื้อที่ 1,560 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลนาแวงและอำเภอเขมราฐ ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับริมฝั่งแม่น้ำโขง ชายแดนเมืองสองคอน แขวงสวรรณเขต สปป.ลาว เส้นทางคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร ห่างจากอำเภอเขมราฐประมาณ 25 กิโลเมตร ตามถนนยุทธศาสตร์หมายเลข 2112 (สายเขมราฐ-โขงเจียม) และห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 128 กิโลเมตร
เสาเฉลียงยักษ์
ภาพจาก Museum Thailand
เสาเฉลียงยักษ์ อยู่ในเขตอุทยานแห่งขาติผาแต้ม ห่างจากที่ทำการอุทยาน ประมาณ 50 กิโลเมตร บริเวณบ้านผาขัน อำเภอโพธึ้ไทร จังหวัดอุบลราขธานี ลักษณะเด่นของแหล่ง : แหล่งธรณีสัณฐานเสาเฉลียงในจังหวัดอุบลราขธานีซึ่งมีอยู่หลาย แห่ง เสาเฉลียงยักษ์ เป็นเสาเฉลียงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นเนินหินโล่งกว้าง แวดส้อมด้วยป่าเบญจพรรณที่มีพืขพรรณแปลกตาหายากหลาย ขนิด นอกจากนี้บริเวณฐานของเสาเฉลียงยักษ์ทางด้านทิศตะวันตกยังมีร่องรอยทางโบราณคดี ได้แก่โลงศพไม้ เก่าแก่ยาวประมาณ 2 เมตร ซึ่งเขื่อว่าเป็นของมนุษย6โบราณ ธรณีวิทยา : เป็นประติมากรรมธรรมขาติดล้ายเห็ดเกิดจากกระบวนการผุพังอยู่กับที่และ กร่อนที่เกิดกับขั้นหินที่แข็งและอ่อนของหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 110 ล้านปี ทำให้ขั้นหินมีความคงทน ต่อกระบวนการดังกล่าวแตกต่างกันจึงถูกกัดกร่อนไม่เท่ากัน ส่วนที่เป็นขั้นหินที่อ่อนกว่าจะถูกกัดกร่อน มากกว่าจึงหลงเหลือเป็นส่วนคล้ายโคนเห็ด ในขณะที่ขั้นหินที่แข็งกว่าถูกกัดกร่อนน้อยกว่าจึงหลงเหลือเป็น ส่วนคล้ายดอกเห็ด