การปรับตัวยุคโควิด-19 Case Study จากบ้านจันทร์หอม


การปรับตัวยุคโควิด-19 Case Study จากบ้านจันทร์หอม


“จันทร์หอม” เป็นธุรกิจผ้าไหมทอมือระดับไฮเอนด์ในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ ณ “บ้านจันทน์หอม” แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมีส่วนของศูนย์การเรียนรู้หัตถกรรมการทอผ้า จ. อุบลราชธานี

จากการเกิดวิกฤตการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่อาจปฏิเสธได้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และยังไม่แน่ว่าวิกฤตในครั้วนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการตลาดของสินค้าทุกชนิดที่ต้องมีการเปลี่ยนกลยุทธ์ คนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้ชีวิตมากขึ้น ทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อยู่แต่ในบ้านมากขึ้น และสนใจในการใช้สื่อที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

การอยู่แต่ในบ้าน งดการเดินทาง ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เปลี่ยนเป็นการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หลีกเลี่ยงการใช้เงินสด ทำให้ธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องรู้จักวิธีที่จะใช้เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19


ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง การปรับตัวของ “บ้านจันทร์หอม” ในฐานะที่เป็นหนึ่งตัวแทนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ต้องใช้ Service Mind ในการบริหารจัดการ ว่าต้องปรับตัวอย่างไร ในสถานการณ์โควิด-19

1 ความรับผิดชอบต่อสังคม มาก่อนผลกำไร

โควิด-19 ทำให้เราเห็นในมุมมองใหม่ๆที่ต่างออกจากมุมเดิมก่อนว่า ในสังคมไทยมีความรับผิดชอบต่อตนเองคนรอบข้างในสังคมมากขึ้น มีความห่วงใยและใส่ใจต่อกันมากขึ้นในภาพรวมของสังคม

เราในฐานะผู้ทำธุรกิจเช่นกัน ต้องมีความห่วงใยต่อลูกค้าที่ต้องการเข้ามาใช้บริการและเลือกสินค้า ความรับผิดชอบอันดับแรก คือ การปิดให้บริการในส่วนของร้านอาหาร ร้านกาแฟ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อการเพิ่มจำนวนผู้ป่วย


2 การปรับตัวของหน้าที่บุคลากร

พนักงานและบุคคลากรรวมแล้วมากกว่า 70 คน ล้วนเป็นกลไกสำคัญของธุรกิจ เราต้องปรับตัวอย่างรอบครอบเพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินไปได้ เราต้องปรับบุคลากรหนึ่งคนให้สามารถปฏิบัติงานได้หลายหน้าที่

จากพนักงานที่ให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม มีหน้าที่ใหม่คือการเป็นช่างทอผ้า เพื่อให้เกิดอาชีพที่ต่อเนื่องและสร้างช่างทอรุ่นใหม่ขึ้น

3 รูปแบบผลิตภัณฑ์

มีการปรับเแลี่ยนรูปแบบงานทอ โดยการสร้างผลงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ตรงเป้ามากที่สุด เพื่อให้สินค้าเกิดการหมุนเวียน เราต้องดูแลคุณภาพของสินค้าให้คงมาตรฐาน มีรูปแบบที่น่าสนใจ โดยการสำรวจความต้องการของลูกค้าในภาพรวมก่อนการผลิตสินค้า

และการเปลี่ยนมาให้บริการผ่านสื่ออนไลน์มากขึ้นเป็น 100 % คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การให้บริการแก่ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้า ให้ข้อมูลสินค้า ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อลดการสัมผัสซึ่งอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เป็นสิ่งที่เราต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว


4 ใส่ใจดูแลหลังการขาย


อีกปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นต่อ คือการติดตามให้บริการหลังการขายทุกชิ้นงาน การบริการด้วยใจ ห่วงใย ใส่ใจต่อลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างดีเหมือนคนในครอบครัว

ในช่วงสถานการณ์การเกิดการแพร่ระบาด แน่นอนสภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวลง ส่งผลเสียต่อการจำหน่ายสินค้าเป็นอย่างมาก แต่ด้วยการปรับตัวที่ทันท่วงที การให้บริการที่ดีด้วยใจ ควบคุมผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพอยู่เสมอ และดียิ่งขึ้นไป ทำให้ลูกค้ายังคงใช้บริการการเลือกซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ได้อย่างไว้วางใจ แม้จะไม่ได้จับต้องสินค้าเองโดยตรง แต่ก็มีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสินค้าและบริการที่จากทางร้าน เพราะผู้ผลิตต้องควบคุมมาตรฐานของสินค้าให้ได้ จะทำให้ธุรกิจดำเนินการไปได้แม้อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19


วิยะดา อุนนะนันทน์

เจ้าของและผู้บริหาร "บ้านจันทน์หอม"